Author Archive
-
ENDETEC – Service Training
ENDETEC - Service Training เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา บริษัท กรีน บรรยัณ จำกัด ได้จัดกิจกรรม Service Training เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพของทีมงานในการดูแลสินค้าและบริการแก่ลูกค้า โดยได้รับเกียรติจาก Mr. John Bowen ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ ENDETEC TM จาก Veolia Water Solutions & Technologies Group ประเทศแคนาดา มาให้ความรู้เกี่ยวกับงานวิเคราะห์คุณภาพน้ำด้านจุลชีววิทยา (Microbiology) การใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือวิเคราะห์แบคทีเรีย รุ่น TECTA™, Automated Rapid Microbial Detection Systems ซึ่งสามารถวิเคราะห์หาปริมาณ E. Coli และ Total Coliforms ได้ โดยมีคุณสมบัติ คือ # On-site automated microbiology system # Optimized reliability using proprietary enzyme ...
-
สมุทรปราการ-เจ้าหน้าที่กรมโรงงานฯ ตรวจสอบน้ำเสียในคลองบางกระบือ (ด้วยเครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำรุ่น Multi 3320-WTW)
สมุทรปราการ-เจ้าหน้าที่กรมโรงงานฯ ตรวจสอบน้ำเสียในคลองบางกระบือ หลังจากมีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้คลองบางกระบือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ร้องเรียนถึงปัญหาน้ำเสียที่คาดว่าจะถูกปล่อยออกมาจากโรงงานอบผลไม้ในละแวกนั้น ล่าสุดกรมโรงงานอุตสาหกรรมลงพื้นที่ตรวจสอบ และยืนยันว่า คราบขาวที่พบในน้ำไม่ได้มาจากโรงงานอบผลไม้ตามที่ชาวบ้านสงสัย เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นตามสภาพแวดล้อมภายในชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยจะนำตัวอย่างน้ำที่ได้ไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเพิ่มอีกครั้ง ขณะที่ชาวบ้านยังปักใจเชื่อว่าต้นเหตุมาจากโรงงานดังกล่าว เจ้าหน้าที่จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เข้าตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียภายในโรงงานอบผลไม้ของบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ เอส เวิร์ล เทรดดิ้ง หลังมีชาวบ้านร้องเรียนถึงปัญหาการปล่อยน้ำเสียลงในคลองบางกระบือ ที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของพวกเขา ซึ่งจากการตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียภายในโรงงงานแห่งนี้ เจ้าหน้าที่พบว่า ค่าคุณภาพของน้ำที่ตรวจได้ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แต่อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ยืนยันว่าระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานถูกต้องตามเกณฑ์ และยืนยันว่าน้ำเสียที่พบในคลองไม่ได้มาจากโรงงานแห่งนี้ เนื่องจากตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีการปล่อยน้ำเสียลงคลอง เจ้าหน้าที่จึงลงสำรวจพื้นที่ภายในชุมชนร่วมกับชาวบ้านผู้ร้องเรียน และพบว่า บ้านและสถานที่ต่างๆ ตลอดแนวคลองบางกระบือ มีการปล่อยน้ำเสียที่มีคราบและยังไม่ได้มาตรฐานอยู่มาก เช่น โรงเรียน ที่ปล่อยน้ำเสียลงน้ำ และ น้ำที่ไหลมาจากตลาดสุธาวี มีลักษณะคล้ายกับน้ำที่พบบริเวณด้านหลังโรงงาน รวมทั้งน้ำเสียจากบ้านเรือนในละแวกใกล้เคียง แต่ชาวบ้านยังคงเชื่อว่าสาเหตุของน้ำเสียในครั้งนี้คือโรงงานอบผลไม้ดังกล่าว จากการตรวจวัดค่าคุณภาพของน้ำด้วยเครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบมัลติพารามิเตอร์รุ่น Mulit 3320 ยี่ห้อ WTW จากประเทศเยอรมัน และเก็บตัวอย่างของน้ำบริเวณด้านหลังของโรงงานและปากคลองบางกระบือที่เชื่อมกับคลองบัวคลี่ ซึ่งเป็นจุดที่ชาวบ้านร้องเรียนถึงคุณภาพของน้ำ พบว่า ค่าพารามิเตอร์ที่วัดได้ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด แต่มีค่าออกซิเจนที่มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์อยู่ที่ 0.09 และ 1.28 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งถือว่าเป็นน้ำเสียที่ไม่เหมาะกับการนำไปใช้อุปโภคบริโภค นายมงคล พฤกษ์วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีน้ำและสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำหรับผลการตรวจโรงงานอบผลไม้แห้งของบริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ เอส เวิร์ล เทรดดิ้ง จะต้องให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบและเก็บตัวอย่างอีกครั้งเพื่อให้ความเป็นธรรมกับทางบริษัท เนื่องจากผลที่ได้ในวันนี้เป็นผลจากเครื่องที่ยังไม่ได้เปิดใช้งาน เพราะก่อนหน้านั้นเกิดระบบไฟฟ้าขัดข้อง โดยผลจากการเก็บตัวอย่างน้ำจะถูกนำไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการอีกครั้ง และจะทราบผลภายใน ...
-
Xylem Analytics Distributor Meeting : บรรยากาศงานประชุมสัมมนาระดับภูมิภาคเอเชียใต้
Xylem Inc. นำทีมโดย Mr.Christian Apfel (Xylem Analytic Sales Director Asia Pacific) และ Dr. Natalie Leiprecht (Product Manager Online Instrumentation WTW) จากเยอรมันนีได้จัดงานประชุม/สัมมนาทางวิชาการ งานใหญ่ระดับเอเชีย เพื่อให้นักวิชาการ ผู้บริหาร ตัวแทนจำหน่าย และผู้ที่สนใจได้พบผู้เชี่ยวชาญระดับสูงจากภาคพื้นเอเชียและเยอรมันนี มาถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ด้านเทคนิคในเชิงลึกโดยเฉพาะ รวมทั้งพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักวิชาการระดับแนวหน้าทั้งจากประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียใต้ เพื่อต่อยอดการพัฒนางานวิจัยด้านเครื่องมิอวิเคราะห์คุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม งานได้จัดขึ้นในวันที่ 26-29 มกราคม พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา ณ อ่าวนางวิลล่า รีสอร์ท จังหวัดกระบี่ โดยได้รับเกียรติจาก Mr.Christian Apfel (Xylem Analytic Sales Director Asia Pacific) เป็นตัวแทน Xylem Inc. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาพร้อมบรรยายในหัวข้อ Xylem Analytics introduction – Water Statistics นอกจากนี้ในงานยังมีการบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจ ...
-
New Products – แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ของ WTW
WTW แบรนด์ชั้นนำผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากประเทศเยอรมัน ที่ทั่วโลกให้การยอมรับมากว่า 60 ปี มีความยินดีที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ผ่านการค้นคว้า วิจัย และทดสอบจนมั่นใจในประสิทธิภาพ ดังนี้ Orthophosphate Measurement # new P 700 IQ Analyzer - เครื่องมือวิเคราะห์ ออร์โธฟอสเฟตแบบออนไลน์ (Molybdate-Vanadate Method) - ทนทานต่อสภาพแวดล้อม - ออกแบบอุปกรณ์ให้ง่ายต่อการใช้งานและการเก็บรักษา - ใช้สารเคมีน้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย - ช่วงการวัดกว้าง - มีระบบการปรับเทียบแบบอัตโนมัติ Interface Level Measurement # new IFL 700 IQ Digital Sensors - เซนเซอร์สำหรับวิเคราะห์ Sludge Level (Ultrasound echo measurement) - เซนเซอร์ทำจาก Stainless steel ทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อม - ระบบประมวลผลระดับอัจฉริยะ มีอุปกรณ์สำหรับกรองสัญญาณรบกวน - ...
-
การสอบเทียบพีเอชมิเตอร์สำหรับห้องปฏิบัติการ ตอนที่ 2
เครื่องมือที่ใช้วัดค่าพีเอช เรียกว่า พีเอชมิเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ 1. เครื่องวัดความต่างศักย์และแสดงผล (potentiometer) หรือ พีเอช มิเตอร์ เป็นส่วนที่รับสัญญาณไฟฟ้าจากอิเล็กโทรด คำนวณค่า แล้วแสดงผลเป็นค่าความต่างศักย์หรือค่าพีเอช ในกรณีที่เครื่องมือมีระบบชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติ เครื่องมือส่วนนี้ต้องทำหน้าที่วัดและแสดงค่าอุณหภูมิ 2. อิเล็กโทรด เป็นส่วนของเครื่องมือที่สัมผัสกับสารที่ต้องการวัดค่าพีเอช ทำให้เกิดศักย์ไฟฟ้า แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ (1) อิล็กโทรดสำหรับวัดค่าพีเอช (pH electrode) โดยทั่วไปส่วนปลายของอิเล็กโทรดที่ตอบสนองต่อไฮโดรเจนไออออนทำด้วยเยื่อแก้ว (glass membrane) จึงเรียกว่า glass electrode ความต่างศักย์เกิดขึ้นที่ผิวอิเล็กโทรด เนื่องจากไฮโดรเจนไอออนในสารละลายเกิดการแลกเปลี่ยนไอออนกับไอออนในเยื่อแก้ว โดยที่ความต่างศักย์ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนในสารละลายที่ต้องการวัดพีเอช ศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นถูกส่งไปยังเครื่องวัด (2) อิเล็กโทรดอ้างอิง (reference electrode) ศักย์ไฟฟ้าคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนในสารละลาย ในการวัดค่าพีเอชต้องใช้อิเล็กโทรดทั้ง 2 ชนิดพร้อมกัน เพื่อเปรียบเทียบค่าศักย์ไฟฟ้าที่เกิดจากปริมาณไอออนในสารละลายกับศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานที่มีค่าคงที่ อิเล็กโทรดอ้างอิงอาจรวมอยู่กับอิเล็กโทรดสำหรับการวัด เรียกว่า อิเล็กโทรดรวม (combination electrode)
-
การสอบเทียบพีเอชมิเตอร์สำหรับห้องปฏิบัติการ ตอนที่ 1
pH meter เป็นเครื่องมือวัดขั้นพื้นฐานที่มีใช้อยู่ในห้องปฏิบัติการ การสอบเทียบเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นมากหากไม่มีการสอบเทียบที่ถูกต้องแล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าค่าที่อ่านได้จากการวัดเป็นค่าที่ถูกต้อง พีเอชมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการควบคุมคุณภาพในงานด้านต่างๆ เช่น การควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ ควบคุมการเกิดปฏิกิริยาเคมีในการวิเคราะห์ทดสอบทางเคมี รวมทั้งการควบคุมคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการเพื่อให้ผลการวิเคราะห์ทดสอบมีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับในระดับสากล การสอบเทียบเครื่องมือวัดที่มีผลกระทบต่อผลการวัดโดยตรงจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการประกันคุณภาพ เครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ทดสอบเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความแม่น ความเที่ยง และความน่าเชื่อถือของผลการวัด ดังนั้นเครื่องมือวัดที่ใช้จำเป็นต้องมีการสอบเทียบในเวลาเหมาะสม เพื่อให้ค่าที่วัดได้มีความถูกต้องตลอดเวลา นอกจากนี้ยังต้องจัดทำโปรแกรมการสอบเทียบ หรือทวนสอบในระยะเวลาที่เหมาะสม ห้องปฏิบัติการที่ต้องการขอการรับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล จำเป็นต้องใช้เครื่องมือวัดที่ผ่านการสอบเทียบซึ่งเป็นข้อกำหนด ISO/IEC 17025/1999/มอก.17025-2543 ข้อ 5.5 เครื่องมือวัด และข้อ 5.6 ความสอบกลับได้ของการวัด และข้อกำหนดในระบบคุณภาพ ISO 9002 ข้อ 4.11 การควบคุมเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบ สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสอบเทียบพีเอชมิเตอร์ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่สอบเทียบพีเอชมิเตอร์ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของเครื่องมือสามารถใช้เครื่องมือได้ถูกต้อง มีความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของการสอบเทียบ มีวิธีการสอบเทียบที่เป็นมาตรฐาน สามารถจัดหาเครื่องมือที่ใช้เป็นมาตรฐานการวัด จัดสภาพแวดล้อมของห้องสอบเทียบให้เหมาะสม และควรมีความรู้เรื่องการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด พีเอชเป็นค่าที่แสดงความเป็นกรด-เบสของสารละลาย วัดโดยวิธี Potentiometic Method ใช้หลักการวัดค่าความต่างศักย์ที่เกิดขึ้นที่ผิวของอิเล็กโทรดชนิดที่สามารถตอบสนองต่อไฮโดรเจนไอออน โดยวัดเปรียบเทียบกับอิเล็กโทรดอ้างอิงที่มีศักย์ไฟฟ้าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณไฮโดรเจนไอออนในสารละลาย และคำนวณเป็นค่าพีเอชโดยสมการของเนินสต์ ซึ่งก่อนการวัดค่าพีเอชต้องทำการปรับตั้งพีเอชมิเตอร์ด้วยสารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐานอย่างน้อย 2 ค่า สำหรับองค์ประกอบของเครื่องมือ องค์ประกอบของการสอบเทียบและวิธีการสอบเทียบ ...